Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  ความไวต่อสารป้องกันกำจัดเชื้อรา propiconazole ของ Bipolaris oryzae สาเหตุโรคใบจุดสีน้ำตาลของข้าว ในพื้นที่นาภาคกลาง
Propiconazole sensitivity of Bipolaris oryzae, the causal agent of rice brown spot disease, isolates from central Thailand
Autores:  Sith Jaisong
Rasamee Dhitikiattipong
Witchuda Rattanakarn
Wanporn Khemmuk
Kanuengnij Srivilai
Data:  2014-02-21
Ano:  2013
Palavras-chave:  Bipolaris oryzae
Fungicide resistance
Rice brown spot disease
Propiconazole
Rice disease
ข้าว
โรคใบจุดสีน้ำตาลของข้าว
โพรพิโคนาโซล
โรคข้าว
ความต้านทานสารป้องกันกำจัดเชื้อรา
Resumo:  Fungicides are important tool for managing diseases in many crops. For example, managing brown spot of rice relies on the application of fungicides. The heavy use of fungicides has triggered to the development of isolates of Bipolaris oryzae (Helminthosporium oryzae) resistant to fungicides. This survey, the farmers were randomly interviewed about fungicide application, showed that most of farmers (76%) used triazole fungicide. 18, 16, 8 and 8 % used dithiocarbamat, triazolobenzo strobirulin and benzimidazole respectively. In vitro fungicide sensitivity assays using poison media technique expressed propiconazole and haxaconazole at concentration 10 ppm inhibit completely mycelium growth. This study was undertaked for evaluating the prevalence of fungicide resistance within B. oryzae isolated from rice fields throughout the central part of Thailand. Effective concentration that produces 50% inhibition (EC50) was estimated based on relative mycelial growth of B.oryzae on Potato Dextrose Agar (PDA) versus PDA amended with the concentration of propiconazole at 0.1, 1 and 10 μg a.i./ml Range of EC50 was 0.2 to 1.59 ug a.i./ml Discriminatory concentrations for propiconazole was 0.5 μg a.i./ml In difference location, mean EC50 were various. B. oryzae isolated from Suphan Buri were discovered at the highest mean EC50 among the other location which isolated from Nonthaburi, Phra Nakhon Si Ayutthaya, Sing Buri, Ang Thong and Chai Nat showed mean EC50 at 6.3, 5.7, 4.8, 3.1, 2.3 and 1.6 ug a.i./ml respectively.

โรคใบจุดสีน้ำตาลของข้าวเป็นโรคข้าวที่สามารถพบโดยทั่วไปในนาเขตภาคกลาง การป้องกันกำจัดที่เกษตรกรนิยมใช้มากที่สุด คือ การใช้สารป้องกันกำจัดโรคข้าว ซึ่งการใช้สารป้องกันกำจัดโรคข้าวในปริมาณมากนำไปสู่การพัฒนาความต้านทานต่อสารป้องกันกำจัดเชื้อราของเชื้อรา Bipolaris oryzae (Helminthosporium oryzae) สาเหตุโรคใบจุดสีน้ำตาล ซึ่งสารป้องกันกำจัดเชื้อราที่เกษตรกรนิยมใช้เป็นกลุ่ม triazole มากที่สุดถึง 76 เปอร์เซ็นต์ รองลงมา คือ 16 เปอร์เซ็นต์ ใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อรากลุ่ม triazolobenzo 18 เปอร์เซ็นต์ ใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อรากลุ่ม dithiocarbamate 8 เปอร์เซ็นต์ ใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อรากลุ่ม strobirulin และ 8 เปอร์เซ็นต์ ใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อรากลุ่ม benzimidazole การศึกษานี้จึงนำสารป้องกันกำจัดเชื้อรา propiconazole ซึ่งเป็นสารป้องกันกำจัดเชื้อราในกลุ่ม triazole เป็นตัวแทนศึกษาความต้านทานต่อสารป้องกันกำจัดเชื้อราของ B. oryzae ในนาข้าวเขตภาคกลาง ผลการทดสอบความต้านทานต่อสารป้องกันกำจัดเชื้อรา propiconazole haxaconazole และ tricyclazole ด้วยวิธี poison media technique บนอาหารเลี้ยงเชื้อรา Potato Dextrose Agar (PDA) ที่ความเข้มข้น 0.1, 1 และ 10 ppm พบว่า สารป้องกันกำจัดเชื้อรา propiconazole และ hexaconazole สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อราได้สมบูรณ์ที่ระดับความเข้มข้น 10 ppm แต่สารป้องกันกำจัดเชื้อรา tricyclazole ไม่สามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราได้แต่ยับยั้งการสร้างรงควัตถุได้ที่ระดับความเข้มข้น 1 ppm การทดลองนี้เน้นศึกษาประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดเชื้อรา propiconazole และระดับความต้านทานของเชื้อรา B. oryzae ค่าประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดเชื้อรา propicanazole ที่มีผลยับยั้งการเจริญได้ 50 เปอร์เซ็นต์ (half maximal effective concentration, EC50) อยู่ระหว่าง 0.2 ถึง 15.9 ug a.i./ml และค่า discriminatory dose อยู่ที่ 5 ug a.i./ml ค่า EC50 เฉลี่ยของไอโซเลทของเชื้อรา B. oryzae จากจังหวัดสุพรรณบุรีสูงที่สุด รองลงมา ได้แก่ จังหวัดนนทบุรี พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี อ่างทอง และชัยนาท โดยมีค่า 6.3, 5.7, 4.8, 3.1, 2.3 และ 1.6 ug a.i./ml ตามลำดับ
Tipo:  PhysicalObject
Idioma:  Thailandês
Identificador:  Proceedings of the 30th Rice and Temperate Cereal Crops Annual Conference 2013, Bangkok (Thailand), p. 198-206

ISBN 978-974-403-928-6

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5525

เอกสารการประชุมวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ครั้งที่ 30 พ.ศ. 2556, กรุงเทพฯ, หน้า 198-206
Formato:  326 p.
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional